ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลสภาพทั่วไป
ลักษณะที่ตั้งและขนาด
โรงเรียนบ้านโคกล่าม ตั้งอยู่เลขที่ 127 หมู่ 11 บ้านโคกล่าม ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัด มหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 เดือน มิถุนายน 2481 ระยะทางห่างจากโรงเรียน เป็นระยะทาง 26 กิโลเมตร มีเขตพื้นที่บริการ 3 หมู่บ้านคือ บ้านโคกล่าม หมู่ 8 หมู่ 11 และบ้านโคกกลาง ตำบลบรบือ จัดการศึกษาที่เปิดสอน การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับบ้านหนองกุงวันดี ตำบลแก้งแก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดกับบ้านสำโรงตำบลห้วยเตย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านดงเค็ง ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านโคกกลาง ตำบลบรบืออำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ขนาดและรูปร่าง
โรงเรียนบ้านโคกล่ามมีพื้นทั้งหมด จำนวน 2 แปลง คือ
แปลงที่ 1 เป็นสถานที่ตั้ง
ของโรงเรียน มีเนื้อที่ 28 ไร่ 86 ตารางวา และ แปลงที่ 2 อยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านโคกล่าม มีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของโรงเรียนบ้านโคกล่าม เป็นพื้นที่ดอนสลับพื้นที่ลุ่มโดยมีลำห้วยเตยไหลผ่านหมู่บ้าน และสามารถเก็บกักน้ำได้ตลอดทั้งปี
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศโดยทั่วไปมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1,269.9มม./ปีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 10.3องศาเซลเซียสและสูง 42.0 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 76 ลักษณะภูมิอากาศมี 3 ฤดู เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การคมนาคม
โรงเรียนบ้านโคกล่าม มีเส้นทางถนนติดต่อกับบริเวณใกล้เคียง ดังนี้
- ทางหลวงชนบท ถนนลาดยาง และถนนลูกรังไปบ้านหนองกุงวันดี ตำบลแก้งแก
อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
- ทางหลวงชนบท ถนนลูกรัง ไปบ้านดงเค็ง ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอ บรบือ
จังหวัดมหาสารคาม
3. ทางหลวงชนบท ถนนลาดยาง ไปบ้านโคกกลาง บ้านซำแฮดตำบลบรบืออำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
4. ทางหลวงชนบท ถนนลูกรัง ไปบ้านสำโรง ตำบลห้วยเตย อำเภอโกสุมพิสัย
จังหวัดมหาสารคาม
ด้านเศรษฐกิจ
ประชากรในเขตบริการของโรงเรียนบ้านโคกล่าม มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 95
ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 5 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและอาชีพค้าขาย ประชากรในหมู่บ้านส่วนมากมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ทำนา ไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย ไร่มันแกว ปลูกไม้ยูคามีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณปีละ 60,000 – 150,00 บาท
ด้านสังคม
ประชากรในเขตบริการของโรงเรียนบ้านโคกล่าม มีเชื้อชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ
ส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมืองชาวอีสาน ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสาร และภาษาไทยกลางเป็นภาษาราชการ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี มีนิสัยโอบอ้อมอารี รักหมู่คณะของตนเอง นับถือคนเฒ่าคนแก่ และศาลเจ้าปู่โคกล่าม รู้รักสามัคคี ดังจะเห็นได้จากความร่วมมือในการจัดงานประเพณี งานบุญ ซึ่งจะมีตลอดทั้งปี มีความเสียสละ ตลอดจนบริจาคทานแก่คนยากจน ซึ่งมีความเชื่อว่า เป็นการสร้างความดีเอาไว้เพื่อเป็นผลดีแก่ตนเองในเวลาต่อไปหรือชาติหน้า
ด้านวัฒนธรรม
ประชากรในเขตบริการของโรงเรียนบ้านโคกล่าม มีความเชื่อแลศรัทธาในศาลเจ้าปู่โคกล่าม โดยจัดงานเลี้ยงศาลเจ้าปู่ในเดือนหกของทุกปี และมีการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ โดยยึดประเพณีของชาวอีสานดั้งเดิมและมีงานประเพณีที่สำคัญ คือ ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ (ประเพณีบุญ 12 เดือน )
1. บุญเข้ากรรมหรือบุญเดือนเจียง หรือบุญเดือนอ้าย ทำกันในเดือนธันวาคม
2. บุญคูนข้าว หรือบุญคูนลาน หรือบุญเดือนยี่ ทำในเดือน มกราคม
- บุญข้าวจี่ หรือบุญเดือนสาม ทำกันในเดือน กุมภาพันธ์
4. บุญผะเหวดหรือบุญเดือนสี่ ทำกันในเดือน มีนาคม
5. บุญสรงน้ำ หรือบุญเดือนห้า หรือบุญสงกรานต์ ทำกันในเดือน เมษายน
- บุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหก ทำกันในเดือน พฤษภาคม
- บุญซำฮะ หรือบุญเดือนเจ็ด ทำกันในเดือน มิถุนายน
- บุญเดือนแปด หรือบุญเข้าพรรษา ทำกันในเดือน กรกฎาคม
- บุญห่อข้าวประดับดิน หรือบุญเดือนเก้า ทำกันในเดือน สิงหาคม
- บุญข้าวสาก หรือบุญเดือนสิบ ทำกันในเดือน กันยายน
- บุญออกพรรษา หรือบุญเดือนสิบเอ็ด ทำกันในเดือน ตุลาคม
- บุญกฐิน หรือบุญเดือนสิบสอง ทำกันในเดือน พฤศจิกายน
ส่วนครองสิบสี่ หรือการปกครอง เป็นลักษณะกฎหมายของบ้านเมืองที่ประชากรในหมู่บ้านปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นอย่างดีและต่อเนื่อง